Followers

การวิเคราะห์และการประเมินผลสื่อต่างๆ

เขียนโดย ปนัดดา นามสอน วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

การวิเคราะห์และการประเมินผลสื่อต่างๆ


วิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำเสนอภายในเว็บไซต์

สิ่งที่ผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องทำเป็นอันดับแรกเมื่อพัฒนาเว็บไซต์ คือ ต้องทราบก่อนว่าเว็บไซต์ที่จะจัดทำขึน้ นั้นมีวัตถุประสงค์และลักษณะขององค์กรเป็นแบบใดสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลอะไรซึ่งผู้พัฒนาเว็บไซต์จะต้องคำนึงถึงเป็นประเด็นหลักในการจัดทำเว็บไซต์ ผู้พัฒนาเว็บไซต์จะต้องใส่ใจกับเรื่องเนื้อหาอย่างเป็นพิเศษเนื่องจากเนื้อหาจะเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะต่างๆของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นสีที่จะใช้รูปแบบการนำเสนอหรือแนวคิดวัตถุประสงค์ในการจัดทำเว็บไซต์ ทัง้ หมดนัน้ ก็เพื่อความเป็นระเบียบและความสวยงามของเว็บไซต์


ตรวจสอบและประเมินเว็บไซต์หลังจากพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์

เมื่อทำการแก้ไข ปรับปรุงเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักพัฒนาสามารถนำเว็บไซต์ไปตรวจสอบกับ Web Checker หรือระบบแอพพลิเคชั่นขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน WCAG ได้อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบอีกครั้งว่าเว็บไซต์นัน้ ได้ผ่านเกณฑ์ระดับความสำเร็จตามที่มาตรฐานกำหนดไว้หรือไม่ โดยหากเว็บไซต์ของท่านผ่านตามเกณฑ์ระดับความสำเร็จ ตารางแสดงผลการตรวจสอบจะปรากฏข้อความต่อไปนี้“CONDENTIONAL PASS WCAG1.0 (level AA)”เพราะฉะนั้นในการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ต่อไปนักพัฒนาเว็บไซต์ก็สามารถพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้โดยมีทางเลือกด้วยกัน 2 วิธี คือ วิธีแบบเริ่มจากศูนย์และวิธีแบบพัฒนาต่อจากของเดิม ตามรูปแบบในการพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์ดังกล่าวข้างต้นทัง้ นี้ไม่ว่าเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้จะอยู่ในเกณฑ์ความสำเร็จระดับ A หรือยังไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะสามารถพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ตามแนวทางมาตรฐาน WCAG หรือ TWCAG 2008 และเทคนิคในการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งต่อไปการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคนพิการหรือคนปกติทั่วไปก็จะไม่มีอุปสรรคในการเข้าถึงอีกต่อไป

หลักการออกแบบของ ADDIE model มีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysis
2. ขั้นการออกแบบ Design
3. ขั้นการพัฒนา Development
4. ขั้นการนำไปใช้ Implementation
5. ขั้นการประเมินผล Evaluation

ขั้นตอนการพัฒนา ADDIE model
1.ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วนดังนี้
1.1 การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป
1.2 การวิเคราะห์ผู้เรียน
1.3การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.4 การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนการออกแบบ (Design) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1.4.1 การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
1.4.2 การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)
1.4.3 การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ในขั้นต่อไปเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement) การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate)
การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน




ที่มาของข้อมูล
http://learners.in.th/blog/thipjr08
http://www.equitable-society.com/Download/TWCAG2008.pdf
http://www.overstockthailand.com

0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น