Followers

หลักการออกแบบพัฒนาผ่านเว็บไซต์

เขียนโดย ปนัดดา นามสอน วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552





ออกแบบพื้นฐานและการออกแบบเว็บไซต์

การออกแบบ (Design) จากหนังสือ Webster Dictionary ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
1. คือ โครงการหรือแผนงานที่กำหนดไว้ในสมอง ซึ่งประกอบด้วยวิธีการและจุดหมายปลายทางไว้เรียบร้อยแล้ว
2. คือ จุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ในการทำงานเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
3. คือ การร่างแบบงานจะเป็นโดยวิธีสเก็ตช์บนกระดาษ หรือปั้นด้วยดินเหนียว
4. การจัดส่วนมูลฐานต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดงานศิลปะ

เทคนิคการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
1. เตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้ง การติดตั้ง PC Web Servers การติดตั้ง และปรับแต่งแก้ไข Apache การเตรียมฐานข้อมูล MySQL
2. การติดตั้งและการตั้งค่า การติดตั้ง Joomla! การทำ Configuration ฐานข้อมูล และตั้งค่าต่างๆ
3. โครงสร้างสำคัญของระบบการทำงาน และการจัดการข้อมูล ศึกษา Admin Control Panel รูปแบบเทมเพลท (template) และการเลือกเทมเพลท (template) ให้เหมาะกับ Concept ของ ประเภทของเว็บไซต์ รู้จักหน้าที่ของคอมโพเน้นท์ (component) ต่างๆ ที่มีมากับระบบ และการประยุกต์ใช้งาน รู้จักหน้าที่ของโมดูล (module) ต่างๆ ที่มีมากับระบบ และ การประยุกต์ใช้งาน ศึกษาระบบ Front-End และ Back-End อย่างเจาะลึก
4. การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบเว็บไซต์ที่เน้นประสิทธิภาพทางการตลาด
5. Work Shop ฝึกปฏิบัติจริง


ออกแบบหน้าเว็บไซต์ (Page Design)

หน้าเว็บเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้จะได้เห็นขณะที่เปิดเข้าสู่เว็บไซต์ และยังเป็นสิ่งแรกที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการออกแบบเว็บไซต์อีกด้วย หน้าเว็บจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นสื่อกลางให้ผู้ชมสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของระบบงานของเว็บไซต์นั้นได้
1. หลักการออกแบบหน้าเว็บ
- สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ
เพื่อเน้นให้เห็นว่าอะไรเป็นเรื่องสำคัญมาก สำคัญรองลงไป หรือสำคัญน้อยตามลำดับ
- สร้างรูปแบบ บุคลิก และสไตล์
รูปแบบของหน้าเว็บนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา และเป้าหมายของเว็บไซต์ว่าต้องการให้ความรู้ โฆษณา หรือขายสินค้า
- สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งไซด์
เพราะการที่สร้างเว็บไซต์ที่มีความหลากหลายมากเกินไป อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนว่ายังอยู่ในเว็บเดิมหรือเปล่า การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ควรสร้างมาตรฐานของเว็บไซต์ให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเอกลักษณ์ให้ผู้ใช้สามารถจดจำลักษณะของเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้น
-จัดวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ส่วนบนของหน้าเสมอ
ซึ่งส่วนบนที่ว่านี้หมายถึง ส่วนแรกของหน้าที่จะปรากฏขึ้นในหน้าต่างบราวเซอร์โดยยังไม่มีการเลื่อนหน้าจอใด ๆ เนื่องจากส่วนบนสุดผู้ใช้จะมองเห็นได้ก่อน
-สร้างจุดสนใจด้วยความแตกต่าง
ความแตกต่างของสีจะช่วยในการสร้างลักษณะเด่นในหน้าเว็บ เพื่อให้เกิดการนำเสนอที่น่าสนใจได้
- จัดแต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบเรียบง่าย และแยกเป็นสัดส่วนไม่ดูแน่นจนเกินไป
- ใช้กราฟิกอย่างเหมาะสม

2. รูปแบบโครงสร้างของหน้าเว็บ
รูปแบบโครงสร้างหน้าเว็บที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปนั้น มีหลากหลายรูปแบบซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้ตามโครงสร้าง ซึ่งมีที่พบบ่อย ๆ อยู่ 4 ประเภท ได้แก่
- โครงสร้างหน้าเว็บในแนวตั้ง ถือเป็นโครงสร้างที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะเป็นรูปแบบที่ง่ายในการพัฒนา
- โครงสร้างหน้าเว็บในแนวนอน ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และความพยายามมากกว่าปกติ ผู้ออกแบบมีข้อจำกัดและสิ่งที่ต้องระวังค่อนข้างมาก
- โครงสร้างหน้าเว็บที่พอดีกับหน้าจอ โดยทั่วไปรูปแบบนี้จะใช้พื้นที่หน้าจอน้อยกว่าเว็บทั่วไป และมักจะจัดไว้กึ่งกลางของหน้าจอ
- โครงสร้างหน้าเว็บแบบสร้างสรรค์ รูปแบบนี้เป็นโครงสร้างที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ฑ์ใด ๆ มักมีรูปแบบและการจัดวางองค์ประกอบเฉพาะตัวที่คุณคาดไม่ถึง ซึ่งเป็นที่นิยมในเว็บไซต์ของศิลปิน, นักออกแบบ, บริษัทโฆษณา

3. ส่วนประกอบของหน้าเว็บ
เราสามารถแบ่งหน้าเว็บเพจออกได้ 3 ส่วนประกอบหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนเนื้อหา และส่วนท้าย ซึ่งแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ส่วนหัวของหน้า (Page Header) ถือเป็นบริเวณที่สำคัญที่สุดของหน้า เพราะเป็นส่วนที่จะดึงดูดผู้ใช้ให้ติดตามเนื้อหาที่เหลือภายในหน้าดังกล่าว
- ส่วนของเนื้อหา (Page Body) ควรจะมีความกะทัดรัด และจัดเป็นระเบียบเพื่อให้มองเห็นข้อมูลได้รวดเร็ว โดยแสดงใจความสำคัญไว้ในส่วนต้น ๆ ของหน้า
- ส่วนท้ายของหน้า (Page Footer) เป็นส่วนที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาและเว็บไซต์ โดยอาจเป็นระบบเนวิเกชั่นแบบโกลบอล



ที่มาของข้อมูล




0 ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น