Followers

งานประเมินเว็บของวิชา Computer and Presentation

เขียนโดย ปนัดดา นามสอน วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552 0 ความคิดเห็น


การประเมิน Blog ของตัวเอง


- เนื้อหาเกี่ยวกับ health(สุขภาพ)
-วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
1. เพื่อให้ทราบถึงความหมายและความสำคัญของสุขภาพ
2. เพื่อให้รู้จักการกินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

-เนื้อหาเป็นประโยชน์ (ให้คะแนน 0-5)
5
-ความน่าสนใจ (0-5)
4
-ความทันสมัย (0-5)
5
-การออกแบบ/ความสวยงาม (0-5)
3
-ความเรียบง่าย(อ่านง่าย เข้าใจง่าย)(0-5)
5

สรุปคะแนนที่ได้
22 คะแนน

หลักการออกแบบพัฒนาผ่านเว็บไซต์

เขียนโดย ปนัดดา นามสอน วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552 0 ความคิดเห็น

หลักการออกแบบพัฒนาผ่านเว็บไซต์


การออกแบบเว็บไซต์
การออกแบบเว็บไซต์ควรคำนึงถึงการใช้งานเป็นหลักเพื่อกำหนดองค์ประกอบภายในเว็บไม่ว่าจะออกแบบอย่างไร ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสร้างเว็บเพจเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความรู้ทางการเขียนโปรแกรมภาษา HTML อย่างแต่ก่อน เพียงรู้หลักเบื้องต้นบ้างเล็กน้องก็เพียงพอที่จะพัฒนาเว็บเพจได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว โปรแกรมที่จะช่วยพัฒนาเว็บมีอยู่มากมายพอสมควรที่จะเลือกใช้ได้ตามความถนัดของผู้ที่จะลองพัฒนาเว็บเพจ ดังนั้นเมื่อจะลองเริ่มต้นสร้างเว็บเพจให้มีความเหมาสมควรคำนึงสิ่งต่อไปนี้

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกแบบโฮมเพจที่ดี
1. ความแปลก ความแตกต่าง (Contrast) คือแยกความแตกต่างที่อยู่บนจอภาพให้เห็นชัดเจน
2. การย้ำซ้ำ (Repetition) คือแบบแผนหรือสไตล์ของผู้ออกแบบ จะต้องมีลักษณะรูปแบบ สอดคล้องกันทั้งหมด
3. การจัดแถว การวางแนว (Alignment) คือ การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ต้องไม่สะเปะสะปะ
4. ความใกล้เคียง ความเกี่ยวเนื่อง (Proximity) คือ การจัดวางองค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องกัน ให้เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน




องค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์
ต้องคำนึงถึง
1. ความเรียบง่าย ได้แก่ มีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และใช้งานได้สะดวก
2. ความสม่ำเสมอ ได้แก่ ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเว็บไซต์
3. ความเป็นเอกลักษณ์ การออกแบบเว็บไซต์ควรคำนึงถึงลักษณะขององค์กร
4. เนื้อหาที่มีประโยชน์ นื้อหาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเว็บไซต์ ดังนั้นควร
- จัดเตรียมเนื้อหาและข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการให้ถูกต้อง และสมบูรณ์
- มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
- เนื้อหาไม่ควรซ้ำกับเว็บไซต์อื่น จึงจะดึงดูดความสนใจ
5. ระบบเนวิเกชันที่ใช้งานง่าย ต้องออกแบบให้ผู้ใช้เข้าใจง่ายและใช้งานสะดวก
- ใช้กราฟิกที่สื่อความหมายร่วมกับคำอธิบายที่ชัดเจน
- มีรูปแบบและลำดับของรายการที่สม่ำเสมอ เช่น วางไว้ ตำแหน่งเดียวกันของทุกหน้า
6. ลักษณะที่น่าสนใจ หน้าตาของเว็บไซต์จะต้องมีความสัมพันธ์กับคุณภาพขององค์ประกอบต่างๆ
7. การใช้งานอย่างไม่จำกัด ผู้ใช้ส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้มากที่สุด
- เลือกใช้บราวเซอร์ชนิดใดก็ได้ในการเข้าถึงเนื้อหา
- สามารถแสดงผลได้ทุกระบบปฏิบัติการและความละเอียดหน้าจอต่างๆ กันอย่างไม่มีปัญหาเป็นลักษณะสำคัญสำหรับผู้ใช้ที่มีจำนวนมาก
8. คุณภาพในการออกแบบ การออกแบบและเรียบเรียงเนื้อหาอย่างรอบคอบ
9. ระบบการใช้งานที่ถูกต้อง การใช้แบบฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูลต้องสามารถกรอกได้จริง ใช้งานได้จริง



นอกจากความสวยงามแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ
1. มีสารบัญแสดงรายละเอียดของเว็บเพจนั้น
2. เชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ตรงกับความต้องการ
3. เนื้อหากระชับ สั้น ทันสมัย
4. สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ได้ทันท่วงที
5. มีรูปภาพประกอบการนำเสนอที่ดี ไม่ควรมีรูปภาพมากเกินไป
6. เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
7. ใช้งานง่าย
8. เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ขั้นตอนการพัฒนาเว็บเพจ
1. วางแผน/กำหนดข้อหัว และเนื้อหาที่นำเสนอ
2. สร้างผังความสัมพันธ์ของข้อมูลแบบรากต้นไม้
3. กำหนดชื่อไฟล์ของเอกสารเว็บ
4. สร้างโฟลเดอร์เฉพาะสำหรับเอกสารเว็บแต่ละชุด/เรื่อง ในโฟลเดอร์ที่สร้าง
5. จัดหาภาพหรือสร้างภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
6. ภาพที่เลือกใช้ทั้งหมด ต้องเก็บไว้ในโฟลเดร์ที่สร้างไว้ก่อนแล้ว
7. สร้างเอกสารเว็บ โดยลงรหัส HTML หรือใช้โปรแกรมสร้างเว็บช่วย
7.1 การสร้างเว็บเพจ โดยลงรหัส HTML
- ใช้ภาษา HTML โดยป้อนคำสั่งภาษา HTML ด้วยโปรแกรม Text Editor เช่น NotePad
- ใส่คำสั่งได้ตามต้องการ
- ไม่เหมาะสำหรับผู้พัฒนาในระดับต้น
7.2 .ใช้โปรแกรมสร้างเอกสร้างเว็บ เช่น Macromedia Dreamweaver
- ไม่ต้องศึกษาภาษา HTML
- จุดด้อยคือ โปรแกรมจะไม่รู้จักคำสั่ง HTML ใหม่ๆ
8. ภาษาไทยกับการสร้างเว็บ เลือกรูปแบบการเข้ารหัสภาษาไทยที่ถูกต้อง
9. กำหนดฟอนต์ให้กับข้อมูล เพื่อให้แสดงผลภาษาไทยได้ถกต้อง
10. ไฟล์เอกสาร HTML ทุกไฟล์ต้องบันทึกไว้ในโฟลเดอร์ที่สร้างไว้ก่อน รวมกับรูปภาพที่จัดเตรียมไว้แล้ว
11. ตรวจสอบผลเอกสาร HTML ด้วยเบราเซอร์ซึ่งมีหลายค่ายหลายรุ่น เว็บเบราเซอร์แต่ละค่าย แต่ละรุ่น จะรู้จักคำสั่ง HTML ไม่เท่ากัน
12. ส่งข้อมูลขึ้นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (server)
13. ตรวจสอบผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่เรียกดูข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายการวางแผน
1. ควรมีรายการสารบัญแสดงรายละเอียดของเว็บเพจนั้น
2. เชื่อมโยงข้อมูลไปยังเป้าหมายได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด
3. เนื้อหากระชับ สั้นและทันสมัย
4. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที
5. การใส่ภาพประกอบ
6. เข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง
7. ใช้งานง่าย




เว็บเพจที่ถูกสร้างขึ้นมานั้น อาจจะมีจำนวนข้อมูลมากมายหลายหน้า การทำให้ผู้ใช้งานไม่เกิดความสับสนกับข้อมูลนั้น จำเป็นต้องกำหนดข้อมูลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยอาจแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ไป หรือจัดเป็นกลุ่ม เป็นหมวดหมู่ เพื่อความเป็นระเบียบน่าใช้งาน

พื้นฐานในการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี มีเนื้อหาเป็นประโยชน์ ตรงกับที่ผู้ใช้ต้องการ มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา และพัฒนาเว็บไซต์อยู่เสมอ ใช้เวลาในการดาวน์โหลดน้อย แสดงผลเร็ว ใช้งานที่สะดวก เข้าใจง่าย



โปรแกรมที่ใช้การสร้างเว็บไซต์
1. Dreamweaver
2. FrontPage
3. HomeSite
4. HotDog Pro
5. GoLive
6. NetObjects Fusion
7. CoffeeCup

หลักการออกแบบ webpage
1. รูปภาพ (Graphic or Photo) การใช้รูปภาพในเว็บไซต์มีอยู่ 2 จุดประสงค์ คือ เพื่อเพิ่มความสวยงามและดึงดูดความสนใจในการเข้าชมเพื่อแสดงข้อมูล
2. แบบฟอร์ม (Form) ในการส่งข้อมูลผ่าน Web Site นอกเหนือการเขียน e-mail ยังสามารถส่งข้อมูลในแบบฟอร์มที่จัดทำอยู่ใน Web Site ได้
3. ภาพยนตร์และเสียงประกอบ (Movie and Sound) การเพิ่มภาพยนตร์และเสียงประกอบจะทำให้ Web Site มีความน่าสนใจและดึงดูดใจผู้เข้าชมมากขึ้น
4. ตัวนับ (Hit Counter) ใช้นับจำนวนผู้เข้าชม Web Site และทำการวัดประสิทธิภาพของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
5. กรอบ (Frame) เพื่อความสวยงามและความสะดวกในการใช้งาน
6. CGI Script เป็นการประมวลผลข้อมูลจากผู้ใช้ด้วย CGI หรือ Common Gateway Interface จะเป็นตัวกลาง ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยง Web Site กับผู้ใช้เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูล
7. จาวา (Java) เป็นภาษาที่สามารถทำงานโดยไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์ม โดย Java จะนำมาใช้สำหรับการโต้ตอบกับระบบ Multimedia
สรุปการออกแบบเว็บและโฮมเพจต้องอาศัยความเข้าใจเบื้องต้นได้แก่
1.รูปแบบการเชื่อมโยงที่นิยมใช้ในการพัฒนาเว็บ ( Link ) ซึ่งได้แก่
- การเชื่อโยงในไฟล์เดียวกัน
- การเชื่อโยงระหว่างไฟล์ HTML และไฟล์ HTML ด้วยกัน
- การเชื่อโยงจากไฟล์ HTML ไปยังเว็บอื่นๆ
2. การจัดทำภาพข้อความเพื่อนำเสนอในรูปแบบตั้งแต่เบื้อต้นจนถึงระดับที่สวยงามเร้าใจ
- ภาพที่ใช้ควรอยู่ในตระกูล jpg - gif
- การใช้ข้อความควรคำนึงถึงฟอนต์ ( Font ) ซี่งถ้าต้องการความสวยงาม ขนาดคงที่
3. การออกแบบไฟล์เริ่มต้นของ Homepage ในชื่อ index.htm หรือ .htm และเก็บไฟล์เป็นชุดหมวดหมู่เพื่อเรียกใช้งานง่ายและไม่เกิดปัญหาในการหาไฟล์ไม่พบ แล้วแสดงผลผิดพลาด
4. การทำเฟรม ( Frame ) การจัดทำเฟรมเป็นการคำนึงถึงผู้ใช้ จึงออกแบบให้เกิดการใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้นคือ
- ลดการคลิกเลื่อนจอภาพ ( Scrolling ) เพื่ออ่านข้อมูลยาวๆ ในหน้าจอได้
- จัดแบ่งพื้นที่บนจอให้เกิดระเบียบสวยงามน่าใช้และเป็นสัดส่วนอิสระจากกัน



แหล่งที่มาของข้อมูล
http://www.pm.ac.th/vrj/web/page_1.htm

เกณฑ์การประเมินเว็บไซต์ทางการศึกษา

เขียนโดย ปนัดดา นามสอน วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 0 ความคิดเห็น


เกณฑ์การประเมินเว็บไซต์ทางการศึกษา
การประเมินได้แบ่งเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์ทางการศึกษาไว้ 4 เกณฑ์ ประกอบด้วย
1. การออกแบบ
2. เนื้อหา
3. รูปแบบวิธีการสอน
4. เทคนิคที่ใช้ในการสร้างเว็บไซต์

การออกแบบ
เนื่องด้วยเว็บไซต์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ที่เรียกว่า Homepage และส่วนที่เป็นเนื้อหา (Web page) หลายๆ หน้ารวมกัน เรียกว่า Web Pages
Homepage เป็นหน้าเว็บหน้าแรกของเว็บไซต์ ซึ่งมีต้องมีจุดเด่นมาก เพื่อดึงดูดให้ผู้ชมเข้า
มาเยี่ยมชมเว็บไซต์และเกิดความประทับใจ อยากเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เรื่อยๆ
เกณฑ์การประเมินสำหรับ Homepage

แนวคิดในการออกแบบ
1.สำหรับเด็กนักเรียน
2.สำหรับนักศึกษา
3.สำหรับบุคคลทั่วไป
4. บริการฟรี
5. เก็บค่าลงทะเบียน
องค์ประกอบ
1.ชื่อเรียกเว็บไซต์
2.หัวเรื่องสำหรับเว็บไซต์
3. Member Login (สมัครสมาชิก, เข้าใช้บริการ)
4.ประกาศข่าว/เนื้อหาปรับปรุงที่น่าสนใจ

การใช้สี
1. สีตัวอักษร
2. สีพื้นเว็บ
3. สีภาพประกอบ

การพัฒนาเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์ทางการศึกษา
1. สีวัตถุอื่นๆ ที่นำมาประกอบ สื่อลักษณะต่างๆ
2.การใช้ภาพนิ่ง (ภาพถ่าย, ภาพวาด)
3. การใช้ภาพเคลื่อนไหว (Animation Gif, Flash)
4. การใช้วีดิทัศน์ (Video for Windows, MPEG, Real, QuickTime…)




เกณฑ์การประเมินสำหรับเว็บเพจหน้าเนื้อหา
แนวคิดในการออกแบบ
1. สำหรับเด็กนักเรียน
2.สำหรับนักศึกษา
3.สำหรับบุคคลทั่วไป
องค์ประกอบ
1.ชื่อเรียกเว็บไซต์
2.หัวเรื่องสำหรับเว็บไซต์
3.Member Zone (ปรับปรุง, ตรวจสอบข้อมูลสมาชิก)
4.เมนูเลือกเนื้อหา
5.เนื้อหา
การใช้สี
1. สีตัวอักษร
2. สีพื้นเว็บ
3.สีภาพประกอบ
4.สีวัตถุอื่นๆ ที่นำมาประกอบ เช่น สีของเมนู

สื่อลักษณะต่างๆ
1.การใช้ภาพนิ่ง (ภาพถ่าย, ภาพวาด)
2. การใช้ภาพเคลื่อนไหว (Animation Gif, Flash)
3. การใช้วีดิทัศน์ (Video for Windows, MPEG, Real, QuickTime…)




การพัฒนาเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์ทางการศึกษา
เนื้อหา เกณฑ์การประเมินเนื้อหาสำหรับเว็บไซต์
• ข้อมูลส่วนตัวสมาชิก ชื่อ, นามสกุล, วันเดือนปีเกิด
• ข้อมูลการทำงานของสมาชิก
• ข้อมูลการศึกษาของสมาชิก
• ข้อมูลการสมัครสมาชิก เช่น User Name, Password
รูปแบบวิธีการสอน
• กิจกรรมการเรียนการสอน
1.เนื้อหา Text ทั้งหมด
2. เนื้อหาประกอบเสียงและวีดิทัศน์ แบบ RealTime
3.เนื้อหาประกอบเสียงและวีดิทัศน์ แบบดาวน์โหลด
• บทบาทของครู
1. ติดต่อกับนักเรียนด้วย Mail
2.ติดต่อกับนักเรียนด้วย Webboard
3. ติดต่อกับนักเรียนด้วย Chat
• บทบาทของนักเรียน
1.ติดต่อกับครูด้วย Mail
2. ติดต่อกับครูด้วย Webboard
3. ติดต่อกับครูด้วย Chat
• เวลาที่ใช้ในการเรียน
1.เลือกเวลาเรียนอิสระ
2. กำหนดเวลาเรียนตายตัว
• การทดสอบ/ประเมินผล
1.ประเมินผลกับอาจารย์แบบปกติ
2. ประเมินผลผ่านเว็บไซต์



การพัฒนาเกณฑ์การประเมินเว็บไซต์ทางการศึกษา
เทคนิคในการพัฒนาเว็บไซต์
• การกำหนดโครงสร้างของเว็บไซต์
1. การตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์
2. การกำหนดโฟลเดอร์หลักและโฟลเดอร์ย่อย
• การแสดงผลภาษาไทย
1.การแสดงผลภาษาไทยผ่านเบราเซอร์ต่างๆ
2. การตั้งค่าการเข้ารหัสและถอดรหัสภาษา
• การสนับสนุนโปรแกรมค้นหาต่างๆ (Search Engine)
1. การกำหนดชื่อเว็บไซต์ (Title)
2. การกำหนดค่าสำหรับเว็บค้นหาผ่าน Meta Tag ต่างๆ
• ความถูกต้องในการเชื่อมโยง (Link)
1. ความถูกต้องในการเชื่อมโยงกับไฟล์เอกสารเว็บ
2. ความถูกต้องในการเชื่อมโยงไปหาเว็บอื่นๆ
3. ความถูกต้องในการดาวน์โหลดไฟล์/โปรแกรม
4. ความถูกต้องในการเชื่อมโยง



ที่มาของข้อมูล
www.udompanya.in.th/upload/20080910224829

การวิเคราะห์และการประเมินผลสื่อต่างๆ

เขียนโดย ปนัดดา นามสอน วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552 0 ความคิดเห็น

การวิเคราะห์และการประเมินผลสื่อต่างๆ


วิเคราะห์ข้อมูลที่จะนำเสนอภายในเว็บไซต์

สิ่งที่ผู้พัฒนาเว็บไซต์ต้องทำเป็นอันดับแรกเมื่อพัฒนาเว็บไซต์ คือ ต้องทราบก่อนว่าเว็บไซต์ที่จะจัดทำขึน้ นั้นมีวัตถุประสงค์และลักษณะขององค์กรเป็นแบบใดสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ข้อมูลที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลอะไรซึ่งผู้พัฒนาเว็บไซต์จะต้องคำนึงถึงเป็นประเด็นหลักในการจัดทำเว็บไซต์ ผู้พัฒนาเว็บไซต์จะต้องใส่ใจกับเรื่องเนื้อหาอย่างเป็นพิเศษเนื่องจากเนื้อหาจะเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะต่างๆของเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นสีที่จะใช้รูปแบบการนำเสนอหรือแนวคิดวัตถุประสงค์ในการจัดทำเว็บไซต์ ทัง้ หมดนัน้ ก็เพื่อความเป็นระเบียบและความสวยงามของเว็บไซต์


ตรวจสอบและประเมินเว็บไซต์หลังจากพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์

เมื่อทำการแก้ไข ปรับปรุงเว็บไซต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นักพัฒนาสามารถนำเว็บไซต์ไปตรวจสอบกับ Web Checker หรือระบบแอพพลิเคชั่นขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน WCAG ได้อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบอีกครั้งว่าเว็บไซต์นัน้ ได้ผ่านเกณฑ์ระดับความสำเร็จตามที่มาตรฐานกำหนดไว้หรือไม่ โดยหากเว็บไซต์ของท่านผ่านตามเกณฑ์ระดับความสำเร็จ ตารางแสดงผลการตรวจสอบจะปรากฏข้อความต่อไปนี้“CONDENTIONAL PASS WCAG1.0 (level AA)”เพราะฉะนั้นในการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ต่อไปนักพัฒนาเว็บไซต์ก็สามารถพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้โดยมีทางเลือกด้วยกัน 2 วิธี คือ วิธีแบบเริ่มจากศูนย์และวิธีแบบพัฒนาต่อจากของเดิม ตามรูปแบบในการพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์ดังกล่าวข้างต้นทัง้ นี้ไม่ว่าเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการพัฒนา ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้จะอยู่ในเกณฑ์ความสำเร็จระดับ A หรือยังไม่ผ่านเกณฑ์ ก็จะสามารถพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ ตามแนวทางมาตรฐาน WCAG หรือ TWCAG 2008 และเทคนิคในการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ซึ่งต่อไปการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคนพิการหรือคนปกติทั่วไปก็จะไม่มีอุปสรรคในการเข้าถึงอีกต่อไป

หลักการออกแบบของ ADDIE model มีขั้นตอนดังนี้
1. ขั้นการวิเคราะห์ Analysis
2. ขั้นการออกแบบ Design
3. ขั้นการพัฒนา Development
4. ขั้นการนำไปใช้ Implementation
5. ขั้นการประเมินผล Evaluation

ขั้นตอนการพัฒนา ADDIE model
1.ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analysis) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วนดังนี้
1.1 การกำหนดหัวเรื่องและวัตถุประสงค์ทั่วไป
1.2 การวิเคราะห์ผู้เรียน
1.3การวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.4 การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนการออกแบบ (Design) ประกอบด้วยรายละเอียดแต่ละส่วน ดังนี้
1.4.1 การออกแบบ Courseware (การออกแบบบทเรียน) ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) สื่อ กิจกรรม วิธีการนำเสนอ และแบบทดสอบหลังบทเรียน (Post-test)
1.4.2 การออกแบบผังงาน (Flowchart) และการออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)(ขั้นตอนการเขียนผังงานและสตอรี่บอร์ดของ อลาสซี่)
1.4.3 การออกแบบหน้าจอภาพ (Screen Design) การออกแบบหน้าจอภาพ หมายถึง การจัดพื้นที่ของจอภาพเพื่อใช้ในการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และส่วนประกอบอื่นๆ
2. การสร้างบทเรียน หลังจากได้เตรียมข้อความ ภาพ เสียง และส่วนอื่น เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการสร้างบทเรียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดการ เพื่อเปลี่ยนสตอรี่บอร์ดให้กลายเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. การสร้างเอกสารประกอบการเรียน หลังจากสร้างบทเรียนเสร็จสิ้นแล้ว ในขั้นต่อไปเป็นการตรวจสอบและทดสอบความสมบูรณ์ขั้นต้นของบทเรียน ขั้นตอนการนำไปใช้ (Implement) การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ไปใช้ โดยใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาย เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของบทเรียนในขั้นต้น หลังจากนั้น จึงทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายจริง เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมและประสิทธิภาพ

ขั้นตอนการประเมินผล (Evaluate)
การประเมินผล คือ การเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนแบบปกติ โดยแบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม เรียนด้วยบทเรียน ที่สร้างขึ้น 1 กลุ่ม และเรียนด้วยการสอนปกติอีก 1 กลุ่ม หลังจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทั้งสองกลุ่ม ทำแบบทดสอบชุดเดียวกัน และแปลผลคะแนนที่ได้ สรุปเป็นประสิทธิภาพของบทเรียน




ที่มาของข้อมูล
http://learners.in.th/blog/thipjr08
http://www.equitable-society.com/Download/TWCAG2008.pdf
http://www.overstockthailand.com





ออกแบบพื้นฐานและการออกแบบเว็บไซต์

การออกแบบ (Design) จากหนังสือ Webster Dictionary ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
1. คือ โครงการหรือแผนงานที่กำหนดไว้ในสมอง ซึ่งประกอบด้วยวิธีการและจุดหมายปลายทางไว้เรียบร้อยแล้ว
2. คือ จุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ในการทำงานเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
3. คือ การร่างแบบงานจะเป็นโดยวิธีสเก็ตช์บนกระดาษ หรือปั้นด้วยดินเหนียว
4. การจัดส่วนมูลฐานต่างๆ ซึ่งจะทำให้เกิดงานศิลปะ

เทคนิคการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
1. เตรียมความพร้อมก่อนการติดตั้ง การติดตั้ง PC Web Servers การติดตั้ง และปรับแต่งแก้ไข Apache การเตรียมฐานข้อมูล MySQL
2. การติดตั้งและการตั้งค่า การติดตั้ง Joomla! การทำ Configuration ฐานข้อมูล และตั้งค่าต่างๆ
3. โครงสร้างสำคัญของระบบการทำงาน และการจัดการข้อมูล ศึกษา Admin Control Panel รูปแบบเทมเพลท (template) และการเลือกเทมเพลท (template) ให้เหมาะกับ Concept ของ ประเภทของเว็บไซต์ รู้จักหน้าที่ของคอมโพเน้นท์ (component) ต่างๆ ที่มีมากับระบบ และการประยุกต์ใช้งาน รู้จักหน้าที่ของโมดูล (module) ต่างๆ ที่มีมากับระบบ และ การประยุกต์ใช้งาน ศึกษาระบบ Front-End และ Back-End อย่างเจาะลึก
4. การออกแบบเว็บไซต์ การออกแบบเว็บไซต์ที่เน้นประสิทธิภาพทางการตลาด
5. Work Shop ฝึกปฏิบัติจริง


ออกแบบหน้าเว็บไซต์ (Page Design)

หน้าเว็บเป็นสิ่งแรกที่ผู้ใช้จะได้เห็นขณะที่เปิดเข้าสู่เว็บไซต์ และยังเป็นสิ่งแรกที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการออกแบบเว็บไซต์อีกด้วย หน้าเว็บจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นสื่อกลางให้ผู้ชมสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลของระบบงานของเว็บไซต์นั้นได้
1. หลักการออกแบบหน้าเว็บ
- สร้างลำดับชั้นความสำคัญขององค์ประกอบ
เพื่อเน้นให้เห็นว่าอะไรเป็นเรื่องสำคัญมาก สำคัญรองลงไป หรือสำคัญน้อยตามลำดับ
- สร้างรูปแบบ บุคลิก และสไตล์
รูปแบบของหน้าเว็บนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา และเป้าหมายของเว็บไซต์ว่าต้องการให้ความรู้ โฆษณา หรือขายสินค้า
- สร้างความสม่ำเสมอตลอดทั่วทั้งไซด์
เพราะการที่สร้างเว็บไซต์ที่มีความหลากหลายมากเกินไป อาจทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนว่ายังอยู่ในเว็บเดิมหรือเปล่า การออกแบบเว็บไซต์ที่ดี ควรสร้างมาตรฐานของเว็บไซต์ให้เกิดขึ้น เพื่อเป็นเอกลักษณ์ให้ผู้ใช้สามารถจดจำลักษณะของเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้น
-จัดวางองค์ประกอบที่สำคัญไว้ส่วนบนของหน้าเสมอ
ซึ่งส่วนบนที่ว่านี้หมายถึง ส่วนแรกของหน้าที่จะปรากฏขึ้นในหน้าต่างบราวเซอร์โดยยังไม่มีการเลื่อนหน้าจอใด ๆ เนื่องจากส่วนบนสุดผู้ใช้จะมองเห็นได้ก่อน
-สร้างจุดสนใจด้วยความแตกต่าง
ความแตกต่างของสีจะช่วยในการสร้างลักษณะเด่นในหน้าเว็บ เพื่อให้เกิดการนำเสนอที่น่าสนใจได้
- จัดแต่งหน้าเว็บให้เป็นระเบียบเรียบง่าย และแยกเป็นสัดส่วนไม่ดูแน่นจนเกินไป
- ใช้กราฟิกอย่างเหมาะสม

2. รูปแบบโครงสร้างของหน้าเว็บ
รูปแบบโครงสร้างหน้าเว็บที่เราเห็นกันอยู่ทั่วไปนั้น มีหลากหลายรูปแบบซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้ตามโครงสร้าง ซึ่งมีที่พบบ่อย ๆ อยู่ 4 ประเภท ได้แก่
- โครงสร้างหน้าเว็บในแนวตั้ง ถือเป็นโครงสร้างที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะเป็นรูปแบบที่ง่ายในการพัฒนา
- โครงสร้างหน้าเว็บในแนวนอน ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์และความพยายามมากกว่าปกติ ผู้ออกแบบมีข้อจำกัดและสิ่งที่ต้องระวังค่อนข้างมาก
- โครงสร้างหน้าเว็บที่พอดีกับหน้าจอ โดยทั่วไปรูปแบบนี้จะใช้พื้นที่หน้าจอน้อยกว่าเว็บทั่วไป และมักจะจัดไว้กึ่งกลางของหน้าจอ
- โครงสร้างหน้าเว็บแบบสร้างสรรค์ รูปแบบนี้เป็นโครงสร้างที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ฑ์ใด ๆ มักมีรูปแบบและการจัดวางองค์ประกอบเฉพาะตัวที่คุณคาดไม่ถึง ซึ่งเป็นที่นิยมในเว็บไซต์ของศิลปิน, นักออกแบบ, บริษัทโฆษณา

3. ส่วนประกอบของหน้าเว็บ
เราสามารถแบ่งหน้าเว็บเพจออกได้ 3 ส่วนประกอบหลัก ๆ ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนเนื้อหา และส่วนท้าย ซึ่งแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ส่วนหัวของหน้า (Page Header) ถือเป็นบริเวณที่สำคัญที่สุดของหน้า เพราะเป็นส่วนที่จะดึงดูดผู้ใช้ให้ติดตามเนื้อหาที่เหลือภายในหน้าดังกล่าว
- ส่วนของเนื้อหา (Page Body) ควรจะมีความกะทัดรัด และจัดเป็นระเบียบเพื่อให้มองเห็นข้อมูลได้รวดเร็ว โดยแสดงใจความสำคัญไว้ในส่วนต้น ๆ ของหน้า
- ส่วนท้ายของหน้า (Page Footer) เป็นส่วนที่จะให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาและเว็บไซต์ โดยอาจเป็นระบบเนวิเกชั่นแบบโกลบอล



ที่มาของข้อมูล




สุขภาพ

เขียนโดย ปนัดดา นามสอน วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552 0 ความคิดเห็น



สุขภาพ

คือ ความสมบูรณ์ทั้ง ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและ กันอย่างแบ่งแยกไม่ได้ การขาดความสมดุลในองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งย่อมส่งผลต่อ องค์ประกอบอื่นๆเสมอ การดํารงภาวะสุขภาพแบบองค์รวม จึงต้องคํานึงถึง การผสมผสานกล ยุทธ์ที่จะคงความสมดุลในทุกองค์ประกอบ โดยจะครอบคลุมถึงการดําเนินชีวิตที่เหมาะสมของ บุคคลเป็นสําคัญ สุขภาพ เป็นการเรียกการกล่าวถึงลักษณะของการไม่เป็นโรค สุขภาพเป็นความสมบูรณ์ของคนใน 4 มิติ คือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และวิญญาณ(ปัญญา)หากสมบูรณ์อย่างสมดุลแล้ว ก็จะเข้าสู่ที่เรียกว่าสุขภาวะ

องค์ประกอบของสุขภาพองค์รวม มี 4 มิติ ได้แก่

1. มิติทางกาย ( Physical dimension) เป็นมิติทางร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจากโรค หรือความเจ็บป่วย มีปัจจัยองค์ประกอบทั้งด้าน อาหาร สิ่งแวดล้อม ที่อยู่ อาศัย ปัจจัยเกื้อหนุนทาง เศรษฐกิจที่เพียงพอ และส่งเสริมภาวะสุขภาพ
2. มิติทางจิตใจ ( Psychological dimension) เป็นมิติที่บุคคลมีสภาวะทางจิตใจที่แจ่ม ใส ปลอดโปร่ง ไม่มีความกังวล มีความสุข มีเมตตา และ ลดความเห็นแก่ตัว
3. มิติทางสังคม ( Social dimension) เป็นความผาสุกของครอบครัว สังคม และชุมชน โดยชุมชน สามารถให้การดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สังคมมีความเป็นอยู่ที่เอื้ออาทร เสมอภาค มีความยุติ ธรรม และมีระบบบริการที่ดีและทั่วถึง
4. มิติทางจิตวิญญาณ ( Spiritual dimension) เป็นความผาสุก ที่เกิดจากจิตสัมผัสกับสิ่งที่มี บุคคลยึดมั่นและเคารพสูงสุด ทําให้เกิดความหวัง ความเชื่อมั่นศรัทธา มีการปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม ด้วยความมีเมตตา กรุณา ไม่เห็นแก่ตัว มีความเสียสละ และยินดีในการที่ได้มองเห็นความสุข หรือความสําเร็จของบุคคลอื่น ทั้งนี้สุขภาวะทางจิตวิญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีความหลุดพ้นจาก ตัวเอง ( self transcending)

มิติสุขภาพองค์รวมทั้ง 4 มิติซึ่งถือเป็นสุขภาวะจะมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยสุขภาวะ ทางจิตวิญญาณจะเป็นมิติที่สําคัญที่บูรณาการความเป็นองค์รวมของ กาย จิต และสังคมของบุคคล และชุมชนให้สอดประสานเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จิตวิญญาณเป็นสิ่งสําคัญของสุขภาพที่จะยึด กุมสุขภาวะในมิติอื่นๆ ให้ปรับตัวประสานกันอย่างครอบคลุมและครบถ้วนทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และชุมชน หากขาดสุขภาวะทางจิตวิญญาณ มนุษย์จะไม่พบความสุขที่แท้จริง ขาดความสมบูรณ์ใน ตนเอง มีความรู้สึกบกพร่อง หากมีความพร้อมถึงสิ่งอันมีคุณค่าสูงสุดก็จะมีความสุขหรือสุขภาวะที่ ดีได้แม้ว่าจะบกพร่องทางกาย เช่นมีความพิการ หรือเป็นโรคเรื้อรัง หรือร้ายแรง



เคล็ดลับสุขภาพ

กินอาหารที่มีคุณค่า...สุขภาพแข็งแรง

หลายคนพิถีพิถันเรื่องความสะอาดของอาหารการกิจมาก แต่บางคนก็ไม่ได้ให้ความสำคัญ แต่คนเราก็ควรใส่ใจสุขภาพของเราให้มากกว่าเดิม ดีกว่าปล่อยไปก่อนที่จะสายเกินแก้ มาทำความรู้จักเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของอาหารกันเถอะว่ากินอะไรให้คุณประโยชน์อย่างไรบ้าง วันนี้มีเมนูที่เป็นประโยชน์ต่อคนเรามาฝาก ดังนี้


การกินคะน้าตาไม่เป็นต้อ คะน้าเป็นผักหาง่ายในท้องตลาด เป็นผักที่อุดมไปด้วย วิตามินซี วิตามินอี แคโรทีนอยด์ และโฟเลต นอกจากนี้ยังมีสาร “ ลูทีน ” ซึ่งเป็นสารสำคัญที่พบในเลนส์ตา จากงานวิจัยพบว่า การกินอาหารหรือพืชผักที่มีสารลูทีนสูง เช่น คะน้า จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกลงได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่กิน นอกจากนี้การกินคะน้าเป็นประจำ ยังช่วยลดอัตราการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ปอด และเต้านมอีกด้วย




กินเห็ดป้องกันกระดูกพรุน คนส่วนใหญ่ทราบดีว่าการขาดวิตามินดีและแคลเซียม จะทำให้กระดูกไม่แข็งแรง ยิ่งอยู่ในวัยสูงอายุก็อาจเพิ่มอัตราความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนได้ ล่าสุดนักวิจัยพบว่า การกินอาหารที่มีธาตุทองแดงเป็นประจำ จะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกได้ และการขาดธาตุทองแดงแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะทำให้อาการกระดูกพรุนแย่ลงไปอีก ดังนั้นการกินอาหารที่มีธาตุทองแดงมาก เช่น เห็ด ปู กุ้งมังกร หอยนางรม ลูกพรุน ปลาซาร์ดีน จึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้น





การกินแอปเปิลให้ปอดแข็งแรง ไม่ว่าจะกินแอปเปิลเขียวหรือแดงก็ดีต่อปอดเป็นที่สุด เพราะแอปเปิลมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อ “ เคอร์ซีทิน ” สารตัวนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอดอย่างได้ผล นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย วิธีการกินแอปเปิลให้ได้สารเคอร์ซีทีนมากที่สุดก็คือ ต้องกินผลสดทั้งเปลือก ซึ่งจะให้ได้รับสาร “ เพกทิน ” จากเปลือกแอปเปิลเพิ่มขึ้นด้วย สารเพกทินมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ส่วนคุณสาว ๆ ที่ต้องการลดน้ำหนักการกินแอปเปิลจะช่วยให้อิ่มนาน ไม่รู้สึกหิว เพราะในแอปเปิลมีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันทีถึง 75 เปอร์เซ็นต์ การกินแอปเปิลสด ได้ประโยชน์มากมาย

การกินองุ่นทั้งเมล็ดช่วยชะลอความแก่ ใครที่อยากเป็นหนุ่มเป็นสาวสองพันปี เรามีวิธีการชะลอความชราด้วยการกินผลไม้ที่หาง่าย ๆ เช่น องุ่น และต้องเคี้ยวเมล็ดองุ่นด้วย เพราะในเมล็ดองุ่นมีสาร “ โอพีซี ” (oligomeric proanthocyanidin) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามินซีถึง 20 เท่า และสูงกว่าวิตามินอีถึง 50 เท่า องุ่นจึงเป็นผลไม้ที่ช่วยรักษาสุขภาพจากภายใน ช่วยฟื้นฟูและบำรุงผิวพรรณให้ดูอ่อนกว่าวัย ช่วยชะลอความชรา และเป็นสารต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวกับจอประสาทตาอีกด้วย






ขอให้สุขภาพแข็งแรงทุกคนเลยนะค่ะ






























| edit post

แนะนำตัวเอง

เขียนโดย ปนัดดา นามสอน วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 1 ความคิดเห็น

ชื่อ นางสาวปนัดดา นามสอน
รหัสนิสิต 50011410040
สาขา สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต
คณะ สาธารณสุขศาสตร์

| edit post